เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 8.จปลายมานสูตร
เกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับมาว่า ธรรม
ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุได้สดับมาอย่างนั้นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุ
นั้นย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงแล้ว จึงกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว จึงเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความดับ
ไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาเหล่านั้นอยู่ เมื่อพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่
พิจารณาเห็นความดับไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ เธอก็ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็ปรินิพพานเฉพาะตน1 เธอย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
โมคคัลลานะ ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ
พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
จปลายมานสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1ปรินิพพานเฉพาะตน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้เอง (องฺ.สตฺตก.อ. 3/61/194)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :119 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 9.เมตตสูตร
9. เมตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญเมตตาจิต
[62] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญเลย คำว่า บุญ นี้ เป็นชื่อ
ของความสุข เราย่อมรู้ชัดว่าบุญที่เราทำแล้วตลอดกาลนาน มีผลที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ อันเราเสวยมาแล้วตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปี
ไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกตลอด 7 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป1 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกเสื่อม
เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เราเข้าถึงพรหมวิมานอันว่างเปล่า
ภิกษุทั้งหลาย ในพรหมวิมานนั้น เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้
ครอบงำ ไม่ใช่ถูกใครๆ ครอบงำ เป็นผู้เห็นแน่นอน2 มีอำนาจ เราได้เป็นท้าวสักกะ
ผู้เป็นจอมเทพถึง 36 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา
มีมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะสงคราม มีชนบทที่ถึงความมั่นคง
ประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการ ตั้งหลายร้อยครั้ง เรานั้นมีรัตนะ 7 ประการนี้3 คือ

1. จักรแก้ว 2. ช้างแก้ว
3. ม้าแก้ว 4. มณีแก้ว
5. นางแก้ว 6. คหบดีแก้ว
7. ขุนพลแก้ว

เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้
เรานั้นปกครองแผ่นดินนี้อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา
ไม่ต้องใช้ศัสตรา

เชิงอรรถ :
1 สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ ได้แก่ ช่วงระยะ
เวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ (ตามนัย วิ.อ. 1/12/158)
2 เห็นแน่นอน หมายถึงเห็นเหตุการณ์อดีต อนาคต และปัจจุบันได้อย่างชัดเจนด้วยอภิญญาญาณ (องฺ.
สตฺตก.ฏีกา 3/62/224)
3 ดู ที.ม. 10/243-251/150-154 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :120 }